โซล่าเซลล์ โรงงานอุตสาหกรรม (Solar Rooftop) คืนทุนให้ภาคธุรกิจด้วยโซล่าเซลล์

การติดตั้งโซล่าเซลล์ โรงงานอุตสาหกรรมด้วย Solar Rooftop คือ การผลิตกระแสไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์หรือแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน อาคาร ที่พักอาศัยหรือโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อแผงโซล่าเซลล์ได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานนั้นจะเข้ามายังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เพื่อให้สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านหรือในอุตสาหกรรมได้ทุกชนิด แต่ระบบไฟฟ้าจะมีการเชื่อมต่อจาก Solar Rooftop  และไฟฟ้าของการไฟฟ้า

โดย Solar Rooftop  เป็นการเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับด้วยอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าในส่วนภูมิภาค ข้อดี ก็คือ สามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขายให้กับการไฟฟ้าฯ อย่างไรก็ตาม ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการก่อนเท่านั้น หรือนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานเอง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดค่าไฟในแต่ละเดือน ช่วยให้ประหยัดเงินหรือประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น นอกจากนั้น หากมีการผลิตไฟฟ้าไม่พอใช้ อุปกรณ์ควบคุมก็จะนำไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้ามาใช้งานเพื่อทดแทน

ทำไม โซล่าเซลล์ โรงงาน จึงคุ้มค่าสำหรับการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม?

โซล่าเซลล์ โรงงานหรือการนำระบบ Solar  Rooftop มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ช่วยให้ประหยัดค่าไฟแต่ละเดือนนี้ทีเดียว ค่อนข้างมากเลยและคุ้มค่าน่าลงทุน เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง และใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก หากมีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา นอกจากจะช่วยทำให้ประหยัดค่าไฟแล้ว ยังช่วยลดความร้อนของหลังคาและลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศอีกด้วย

ต้นทุนและระยะเวลาการคืนกำไรของโซล่าเซลล์ โรงงาน

โซล่าเซลล์โรงงาน ราคาขึ้นอยู่กับการใช้งานเริ่มต้นที่ 400,000 บาท

     นอกจากเรื่องต้นทุนแล้ว การที่จะติดแล้วคุ้มค่าการลงทุนนั้น ยังขึ้นอยู่กับการใช้ไฟฟ้าของเจ้าของด้วย เพราะถ้าเป็นการผลิตไฟฟ้าแบบมีใบอนุญาต เมื่อแสงแดดส่องมา เราผลิตได้เท่าไหร่เราก็ขายออกเท่านั้น คือขายได้ทั้งหมด 100% จึงคุ้มทุนเร็ว แต่ถ้าเป็นการผลิตเพื่อใช้เอง (หรือเรียกอีกอย่างว่า เพื่อลดค่าไฟ) จะดีที่สุดถ้าในภาวะปกติเราใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในเวลาที่มีแสงแดด เพราะเปรียบเสมือนขายไฟได้ตลอดเวลา เพราะไฟฟ้าที่ผลิตได้ เราไม่สามารถเก็บไว้ได้ ต้องจำใจเสียเปล่า หากไม่ได้ใช้

การผลิตไฟเพื่อใช้นั้น เหมาะสมกับโรงงานมาก ยิ่งเป็นโรงงานที่ทำงานวันเสาร์-อาทิตย์ด้วยแล้วยิ่งดี เพราะผลิตไฟฟ้าได้เท่าไหร่ก็ได้ใช้หมด

Solar Rooftop (โซล่าเซลล์ โรงงาน)ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ดังนี้

  • แผงโซล่าเซลล์หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์

ภายในประกอบไปด้วยเซลล์แสงอาทิตย์จำนวนหลายๆ เซลล์ต่อรวมกัน เพื่อให้สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงตามที่ผู้ผลิตต้องการ ส่วนการเลือกใช้ควรคำนึงถึง 2 ปัจจัยหลัก คือ ราคาและประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้มี 3 ประเภท ได้แก่ เซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกรวม เซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกเดี่ยวและเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบาง โดยที่เซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกเดี่ยวจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีราคาสูงที่สุดด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากใช้ซิลิคอนบริสุทธิ์ในการผลิตทำให้สีมีความสม่ำเสมอกันทั้งแผ่น

  • ชุดเบรกเกอร์และสายไฟ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์จะต้องใช้สายไฟที่มีความแข็งแรงทนทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทนทานต่ออุณหภูมิได้ไม่น้อยกว่า 80 องศาเซลเซียส และข้อต่อควรใช้สำหรับเชื่อมต่อที่สามารถกันน้ำและกันความร้อนได้ดี เนื่องจากต้องติดตั้งในสถานที่โล่งแจ้งและมีแสงแดดเข้าถึง  

  • อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า

เนื่องจากโซล่าเซลล์จะผลิตไฟฟ้าออกมาในรูปแบบของไฟฟ้ากระแสตรง แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกระแสสลับ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีตัว Inverter เพื่อแปลงกระแสไฟฟ้า จากกระแสตรงให้กลายเป็นกระแสสลับ ในการเลือกเครื่องอินเวอร์เตอร์ ผู้ผลิตจะต้องระบุช่วงกำลังไฟฟ้าจากแผงที่เครื่องสามารถรับได้ โดยสามารถหาค่าได้จากเอกสารข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วค่ากำลังไฟฟ้าจะมีความใกล้เคียงกับค่ากำลังสูงสุดของแผงโซล่าเซลล์ที่มีการเชื่อมต่อ คือ อยู่ในช่วง 80-120 % ซึ่งเป็นค่ากำลังสูงสุดของแผงโซล่าเซลล์ ในส่วนราคาเครื่อง Inverter ก็ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

  • อุปกรณ์อื่นๆ

เช่น อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากและฟ้าผ่า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยลดความดันไฟฟ้า โดยอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้โดยไม่หยุดชะงักนั่นเอง

การติดตั้ง Solar Rooftop โดยหลักๆ จะต้องคำนึงถึงทิศทางและความปลอดภัยเป็นหลัก ถ้าเป็นไปได้ควรตัดวงจรไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กับจุดที่เกิดประกายไฟ และควรติดตั้งถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเป็นการป้องกัน หากมีเหตุไฟไหม้ใดๆเกิดขึ้น

Solar  Rooftop  สามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้?

ไฟฟ้าที่ผลิตจาก Solar  Rooftop  ยังสามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้ แต่สามารถขายคืนได้ไม่เกิน 10 kwp ในราคาประมาณ 6-7 บาทต่อหน่วย และข้อมูลจาก MGR ได้ระบุเอาไว้ว่าอัตราค่าไฟที่รัฐบาลรับซื้อเข้าระบบเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 1.6 0-1.80 บาทต่อหน่วย ส่วนต้นทุนการติดตั้ง Solar rooftop นั้น ยกตัวอย่างขึ้นอยู่กับขนาดของ  kwp  เช่น ขนาด 5 kwp จะต้องใช้พื้นที่หรือหลังคาในการติดตั้งประมาณ 35 ตารางเมตร และต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 300,000 บาท ส่วนความสามารถในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 6,500 หน่วยต่อปี รายได้จากการขายคืนอยู่ที่ 45,000 บาทต่อปี และจะใช้เวลาคืนทุนหรือคุ้มทุนประมาณ 8-10 ปี 

และทั้งหมดนี้ ก็คือ โซล่าเซลล์ โรงงานอุตสาหกรรมและสาระน่ารู้เกี่ยวกับ Solar  Rooftop   พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ถูกใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ค่อนข้างมากแล้ว ยังเป็นพลังงานสะอาดที่ทำให้โลกของเราน่าอยู่มากยิ่งขึ้นอีกด้วย