โซล่าร์เซลล์แบบไหนเหมาะสมกับเรา ?



1 แบบขายไฟให้การไฟฟ้า
แบบนี้จะพิจารณาได้ไม่ยากเลย โดยมีแค่เงื่อนไขเดียวคือ
“ท่านต้องมีสัญญาขายไฟให้การไฟฟ้า”
การที่จะได้สัญญาขายไฟกับการไฟฟ้านั้น ท่านจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร แหล่งต่อไปนี้
สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ติดตามจากสัญญารับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ให้ดูประกาศตามลิงก์ต่อไปนี้
http://www.mea.or.th/profile/index.php?l=th&tid=3&mid=2996&pid=2995
สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด ติดตามจากสัญญารับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ให้ดูประกาศตามลิงก์ต่อไปนี้
https://www.pea.co.th/vspp/Pages/home.aspx
และจงจำไว้เสมอนะครับ “ขายไฟ” ย่อมดีกว่า “ใช้ไฟ” เสมอ เพราะ
– ลงทุนต่ำกว่าหรือเท่ากัน เพราะไม่ต้องสำรองพลังงานในแบตเตอรี่ เท่าไหร่ก็ขายจนหมด
– ไม่ต้องบังคับให้ใช้โหลด เพราะแม้ไม่ได้ใช้ไฟเลย แต่พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ยังคง เกิดขึ้นตลอดเวลา ตราบใดที่แสงแดดยังไม่หมดไปจากโลก 
2 แบบใช้ไฟเอง
คือการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อนำมาใช้กับโหลดโดยตรง ไม่ได้ขายให้ใคร
แบบนี้สามารถทำได้เลย ไม่ต้องขออนุญาติการไฟฟ้า เพียงแต่ท่านต้องไม่ทำให้มิเตอร์การไฟฟ้าหมุนกลับทาง  การใช้ไฟเอง มีได้หลากหลาย ท่านลองพิจารณาว่าตรงกับข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้หรือไม่
– “โรงงานที่ต้องการลดค่าไฟ”
เหมาะกับโรงงานที่มีค่าไฟตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป สำหรับโรงงานที่มีการใช้โหลดช่วงกลางวันเยอะอยู่แล้ว ถ้าใช้เงินตัวเองลงทุน จะมีการคืนทุนอยู่ประมาณ 6-7 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีผลประกอบการดี มีกำไรต่อเนื่อง สามารถที่จะเช่าซื้อเครื่องจักร (Leasing) แทนการลงทุนเอง เท่ากับว่า “ท่านไม่ต้องควักเงินสักบาท” หรือลงทุนไม่เกิน “10%” รายละเอียดสามารถปรึกษาผู้ที่ทำธุรกิจด้านนี้ได้ครับ
อย่าลืมว่าแนวทางการลดค่าไฟ สามารถทำไปพร้อมๆ กันได้หลายทาง ไม่จำเป็นต้องใช้โซล่าร์เซลล์เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น “เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟ”, “การลดความร้อนในคอมเพรสเซอร์”, “การเปลี่ยนหลอด LED”, “การติดฉนวนกันความร้อน”, “การติดอินเวอร์เตอร์โหลดที่มีความกระชากสูง เช่น แอร์ ปั้ม” เป็นต้น
– “ต้องการใช้ไฟเฉพาะเวลาที่มีแสงแดด”
เหมาะสำหรับคนที่รู้ตัวอยู่แล้ว ว่ายังไงจะต้องใช้ไฟช่วงกลางวัน เช่น ปั้มสูบน้ำ ที่ทำงานเฉพาะช่วงมีแดด ก็พอเพียงในการกักเก็บน้ำ คือไม่ต้องง้อไฟจากการไฟฟ้า ให้เปลืองค่าเดินสาย 
– “ต้องการใช้ไฟในจุดที่เดินสายไฟไปไม่ถึง”
เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเดินสายไฟ บางทีโหลดอาจจะอยู่ไกล เช่นในสวน ไร่นา เพราะการเดินสายไฟเป็นการลงทุนที่สูงเกินไป หรือต้องการเสาไฟที่ไม่ต้องเดินสายไฟ เพื่อจ่ายโหลดกล้องวงจรปิด ไฟถนนเป็นต้น ตรงนี้ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป นะครับ
– “ต้องการใช้ไฟช่วงที่ไฟดับ”
จริงๆ แล้วถือว่าเป็นหน้าที่ของแบตเตอรี่และยูพีเอสมากกว่า เพื่อการสำรองไฟ แต่แทนที่เราจะต้องเสียค่าไฟเพื่อมาสำรองไฟ เราเลือกใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทน
– “ต้องการใช้กับอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ไปมาได้บ่อย”
ถ้าใครอยากได้ รถเข็นพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์แบบโมบาย หรือป้ายไฟแบบเคลื่อนที่ได้ ตรงจุดนี้ถือว่าตอบโจทย์พอสมควร เพราะไม่ต้องไปหาจุดต่อปลั๊กให้เสียเวลาครับ
– “ต้องการให้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งจ่ายไฟ”
ในกรณี เหมือนกับว่า เท่าสามารถมีแหล่งจ่ายไฟหลายแหล่ง เช่น พลังงานลม การไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ และต้องการให้ทุกแหล่งกำเนิดสามารถไปจ่ายโหลดเดียวกันได้ ระบบนี้เรียกว่า Hybrid power system ซึ่งในเมืองไทยเริ่มมีคนนำเข้ามาใช้งานแล้ว จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น