โซล่าชาร์จเจอร์MPPT และ PWMโซล่าชาร์จเจอร์ ในระบบโซล่าเซลล์

โซล่าชาร์จเจอร์ โซล่าชาร์จคอนโทรลเลอร์ ชาร์จเจอร์ เป็นอุปกรณ์โซล่าเซลล์ที่ติดตั้งในระบบโซล่าเซลล์เพื่อทำหน้าควบคุมการชาร์จประจุแบตเตอรี่ที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตได้ โซล่าชาร์จเจอร์ที่นำมาใช้ต่อในระบบโซล่าเซลล์มีด้วยกัน 2 แบบ

1. โซล่าชาร์จเจอร์แบบ PWM  pulse with modulation   ในการออกแบบโซล่าชาร์จเจอร์ แบบ PWM จะมีน้ำหนักเบา  การทำงานของ PWMโซล่าชาร์จเจอร์ มีส่วนทางด้านภาคอินพุทหรือด้านไฟเข้า คือรับไฟจากแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตได้ในตอนกลางวัน มาผ่านการบูทแรงดันหรือลดแรงดัน โดยผ่านวงจร Buck Boost เพื่อการประจุแบตเตอรี่ การจะเพิ่มหรือลดแรงดันในการประจุแบตเตอรี่จะมีตัวควบคุมที่เรียกว่าไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมการทำงานอยู่จะมีการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าก่อนและหลังการปรจุแบตเตอรี่ นอกจากนี้ในการประจุแบตเตอรี่ก็จะมีการตรวจ อุณหภูมิของแบตเตอรี่ได้อีกด้วย ปัจจัยต่างๆเหล่านี้มีผลในการประจุแบตเตอรี่ โซล่าชาร์จเจอร์ที่ออกแบบมาดีจะมี Function เหล่านี้อยู่ ส่วนทางด้านอินพุทก็เช่นกันก็จะมีการตรวจสอบกระแสและแรงดันไฟฟ้าด้วย CPU เช่นกัน นอกจากจะมีการตรวจสอบอุณหภูมิและแสง ในส่วนของแผงโซล่าเซลล์ได้อีกด้วยขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละโรงงานผู้ผลิต

โซล่าชาร์จเจอร์ ซันเนอร์ยี่เทค

PWMโซล่าชาร์จเจอร์ จะมีทั้งแบบที่แสดงผลเป็นหน้าจอ LCD และแสดงผลแบบ LED โซล่าชาร์จเจอร์ที่แสดงผลเป็น LCD จะแสดงค่าแรงดันและกระแสไฟฟ้าได้มาจากแผงโซล่าเซลล์ ณ ขณะนั้นเป็นเรียลไทม์ ทางด้านอินพุท ส่วนทางด้านเอาพุท ก็จะแสดงค่าแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่ผ่านการเพิ่มหรือลดจากการควบคุมจากไมโครคอนโทรลเลอร์แล้ว นอกจากนี้โซล่าชาร์จเจอร์ ยังต้องมีโซล่าชาร์จเจอร์ ต้องฟังก์ชั่นเพิ่มเติมอีกมากมาย เช่น

Reverse Polarity การป้องกันการต่อกลับขั้ว

Overload การป้องกันการใช้โหลดเกินกรณีที่เป็นโหลดไฟฟ้าชนิดดีซี DC สามารถต่อผ่านตัวควบคุมการชาร์จ โซล่าชาร์จเจอร์ได้โดยตรงซึ่งจะมีช่องสำหรับต่อโหลดชนิดดีซีไว้ให้

Lightning ตัวป้องกันฟ้าผ่า ฟ้าแลบ เพราะปรากฎการณ์เหล่านี้จะทำให้มีแรงดันสูงวิ่งเข้ามาที่ตัวโซล่าชาร์จเจอร์ ถ้าโซล่าชาร์จเจอร์ไม่ได้มีออกแบบติดมาจากโรงงาน ในการติดตั้งเราจำเป็นต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ฟ้าแลบ เข้าไปเพิ่มในระบบโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ชนิดนี้จะเรียกว่า surge protection device  SPD

Overtemperrature การป้องกันอุณภูมิสูงเกิน เช่น อุณหภูมิ ของแบตเตอรี่

Under voltage ป้องกันไม่ให้แรงดันของแบตเตอรี่ต่ำเกินไป และแรงดันสูงเข้าสู่ระบบการชาร์จโซล่าเซลล์

 short circuit ป้องกันการลัดวงจร

Over-Charging  ป้องกันกระแสชาร์จเกินเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับแบตเตอรี่

โซล่าชาร์จเจอร์ ซันเนอร์ยี่เทค

การต่อใช้งานโซล่าชาร์จเจอร์ PWM   ในการต่อโซล่าชาร์จเจอร์ ต้องทำการต่อแบตเตอรี่เข้ากับตัวโซล่าชาร์จเจอร์แล้วต่อแผงโซล่าเซลล์ แล้วตามด้วยโหลดหรือหลอดไฟดีซี

โซล่าชาร์จเจอร์ กรุงเทพโซล่าเซลล์

การต่อใช้งานโซล่าชาร์จเจอร์ที่มีฟังก์ชั่น USB เพื่อชาร์จโทรศัพท์ ต่อโหลดดีซี หรือหลอดไฟ

โซล่าชาร์จเจอร์ กรุงเทพโซล่าเซลล์

การต่อขนานโซล่าชาร์จเจอร์ ในกรณีเรามีแผงโซล่าเซลล์หลายแผงมาต่อขนานกัน

โซล่าชาร์จเจอร์ ซันเนอร์ยี่

2. โซล่าชาร์จเจอร์แบบ MPPT  Maximum Power Point Tracking

MPPT โซล่าชาร์จเจอร์  โดยการออกแบบจากโรงงาน มีตัว Body ทีใหญ่กว่า โซล่าชาร์จเจอร์แบบ PWM เพราะมีประสิทธิภาพในการชาร์จประจุแบตเตอรี่ที่มากกว่า 20-50 % ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละโรงงาน  โดยในการนำใช้งานนั้นถ้า user  หรือผุ้ใช้งานระบบโซล่าเซลล์นั้นต้องการต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบโซล่าเซลล์โดยไม่ต้องเพิ่มแผงโซล่าเซลล์ก็สามารถทำได้โดยการนำ โซล่าชาร์จเจอร์MPPT  โดยการทำงานของ MPPT โซล่าชาร์จเจอร์ มีด้านอินพุทรับแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์  จะมีควบคุมการทำงานแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าจากมาจากแผงโซล่าเซลล์ด้วย CPU  ไมโครคอนโทรลเลอร์ ควบคุมและ มีตัวตรวจสอบ แรงดัน และ กระแสไฟฟ้า แล้วมาผ่านวงจร  BUCK  BOOST   CONVERTER   เพื่อทำหน้าที่เพิ่มลดหรือลดแรงดันไฟฟ้าขณะประจุ ชาร์จพลังงาน ไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่ ในขณะที่ประจุแบตเตอรี่ ก็จะมีการตรวจสอบ แรงดันและกระไฟฟ้าทางด้านเอาท์พุท โดยมีตัวตรวจสอบ และผ่านการควบคุมการทำงานผ่าน  CPU ไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยเช่นกัน  นอกจาก MPPTโซล่าชาร์จเจอร์ จะการแสดงผลเป็นแบบ LCD หรือ LED เพื่อแสดงสถานะของไฟฟ้าที่มาจากแผงโซล่าเซลล์  จะบอกแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ด้านอินพุท  ในขณะชาร์จ หรือกระแสและแรงดันไฟฟ้าขณะประจุแบบเตอรี่ได้อีกด้วย หรือ MPPTโซล่าชาร์จเจอร์บางรุ่นสามารถต่อโหลดชนิดDC โดยตรงอีกด้วย หรือ ชาร์จโทรศัพท์มือถือด้วย USB Port

MPPT โซล่าชาร์จเจอ์  ซันเนอร์ยี่
MPPT โซล่าชาร์เจอร์ ซันเนอร์ยี่
MPPTโซล่าชาร์จเจอร์ ซันเนอร์ยี่

โซล่าชาร์จเจอร์ไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์  จะเป็นโซล่าชาร์จเจอร์ แบบ   PWM หรือ MPPT ก็ได้ f

แล้วการออกแบบระบบโซล่าเซลล์ไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์  ถ้าต้องการชาร์จระบบให้เร็วหรือเพิ่มประสิทธิภาพการชาร์จในระบบโซล่าเซลล์ไฟถนนก็ต้องเลือกใช้โซล่าชาร์จเจอร์แบบ MPPT  เพราะจะมีประสิทธิภาพมากกว่าโซล่าชาร์จเจอร์แบบPWM โซล่าชาร์จเจอร์ไฟถนนจะนิยมออกแบบให้สามารถกันน้ำได้ ทนต่อสภาพอากาศที่ร้อน อุณหภูมิสูง ได้กว่า โซล่าชาร์จเจอร์ที่ในบ้านพักอาศัย หรือในร่ม เพราะไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์ต้องติดตั้งไว้ในพื่นโล่งกวางแจ้ง ไม่มีร่มเงาบัง

โซล่าชาจ์เจอร์ไฟถนน พลังงานแสงอาทิตย์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น