เรื่องไฟฟ้าในประเทศไทย

เรื่องไฟฟ้าในประเทศไทย


ประชากร

ประเทศไทยมีจํานวนประชากรในปี 2555 ประมาณ 64,500,000 คน มีอัตราการเติบโตของประชากรอยู่ที่ร้อยละ 0.3

ศาสนา

ประชากรไทยส่วนใหญ่ถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 95 นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8 และคริสต์ร้อยละ0.5 และอื่นๆ ร้อยละ 0.7


เศรษฐกิจ

 

          ประเทศไทยมีแหล่งทรัพยากรเป็นของตนเอง ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ มีธรรมชาติหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับภูมิภาคแรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 อยู่ในภาคเกษตรกรรมและการบริการ ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวของGDP ปี 2556 เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 2.9 โดยภาคอุตสาหกรรมและการบริการมีสัดส่วนต่อ GDPสูงสุดรวมกันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 มีสินค้าส่งออกกลักคือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และสินค้าเกษตรแปรรูป ส่วนสินค้านำเข้าหลักเนื่องจากภายในประเทศมีไม่เพียงพอคือ น้ำมันดิบ เครื่องจักร อุตสาหกรรมและชิ้นส่วนประกอบ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

 

องค์กรผลิตไฟฟ้า

          ประเทศไทยมีองค์กรที่มีหน้าที่ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)โดยมีหน้าที่ผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ รวมถึงรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ เพื่อจ่ายไฟไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศผ่านทางระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. โดยมีการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) รับซื้อไฟฟ้าเพื่อนำไปจำหน่ายแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าตรงอีกทอดหนึ่งโดย กฟผ. มีกําลังการผลิตรวมประมาณ 50% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศ


กําลังผลิตติดตั้ง

        ในปี 2556 ประเทศไทยมีกําลังผลิตติดตั้งรวมประมาณ 34,000 เมกะวัตต์ โดยเป็นกําลังผลิตจากก๊าซธรรมชาติมากที่ ระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ความต้องการใช้ไฟฟ้า

 

        ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยร้อยละ 4 ภาคการผลิตสินค้ามีความต้องการใช้ไฟเป็นสัดส่วนมากที่สุดร้อยละ 39 และภาคครัวเรือนร้อยละ 17


สัดส่วนการผลิตไฟฟ้า

        ใน พ.ศ. 2556 ไทยผลิตไฟฟ้าได้ 173,535.45 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยมีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงดังนี้  แผนในอนาคตรัฐบาลไทยมีแผนในการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้สมดุลมากขึ้น จากเดิมที่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากถึงร้อยละ 70 โดยการเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า โดยใช้โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากประเทศเพื่อนบ้านและยังมีแผนเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนให้สูงขึ้นกว่าเดิม โดยให้ความสําคัญทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และชีวมวล

 


♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น